ใครที่มีอาวุธปืน หรือ มองหาอาวุธปืน นี่เป็นเรื่องสำคัญที่ควรต้องรู้ นำพาอาวุธปืนยังไงให้ปลอดภัย พกพาอาวุธปืนยังไงให้ปลอดภัย และกฏหมายต้องรู้สำหรับปืน มีอะไรบ้าง ไปดู
สาระสำคัญ
อาวุธปืน หมายุึง เครื่องมือที่ใช้ยิง ไปทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้ ปีนที่ไม่อาจทำอันตรายร่างกายถึงสาหัสได้โดยสภาพ เช่น ปืนเด็กเล่น ไม่ใช่อาวุธปืนตามความหมายของกฎหมาย ตามกฎหมายเรียกว่า “สิ่งเทียมอาวุธปืน” ถ้ามีไว้โดยไม่ได้รับอนุญาตก็มีความผิดเช่นกัน ส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธปืนตามกฎหมายให้ถือเป็นอาวุธปืนด้วย เช่น
|
การขออนุญาต ประชาชนจะมีและใช้อาวุธปืนต้องขออนุญาตต่อนายทะเบียน สำหรับ คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ ยื่นคำร้องขอที่กองทะเบียน สำนักงานตำรวจ แห่งชาติ สำหรับคนที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำร้องขอต่อนายอำเภอท้องที่ การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนต้องขอเพื่อ
– ป้องกันตัวหรือทรัพย์สินของตน
– สำหรับใช้ในการกีฬาหรือล่าสัตว์
การขออนุญาตมีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน กรณีออกใบอนุญาตให้ซื้ออาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ( แบบ ป.3)
การออกใบอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน (แบบ ป.4)
มาตรา 8 ทวิกําหนดไว้ว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดพกพาอาวุธปืนติดตัวในเมือง หมู่บ้าน หรือทาง สาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจําเป็นและเร่งด่วน ตามสมควรแก่พฤติการณ์” ไม่ว่ากรณีใด
ห้ามมิให้พาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพาไปในชุมนุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้น เพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่
(๑) เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทหารและตํารวจซึ่งอยู่ใน ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
(๒) ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๑) (ข) หรือ (ค) ซึ่งอยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่เพื่อการป้องกันประเทศ หรือรักษาความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนหรือรักษาทรัพย์สินอันสําคัญของรัฐ
(๓) ประชาชนผู้ได้รับมอบให้มีและใช้ตามมาตรา ๕ วรรคหนึ่ง (๑) (ง) ซึ่งอยู่ในระหว่างการ ช่วยเหลือราชการและมีเหตุจําเป็นต้องมีและใช้อาวุธปืนในการนั้น
สำหรับการพกพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะ แม้จะเป็นปืนมีทะเบียนก็ตาม ผู้พกพาปืนก็ต้องมีใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนด้วย และแม้จะมีใบอนุญาตให้พกพาอาวุธปืนแล้วก็ตาม ก็ห้ามพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิดเผย หรือพกพาไปในที่ชุมนุมชน ที่จัดงานมหรสพ เทศกาลรื่นเริง หรือที่อื่นใดในทำนองเดียวกับที่กล่าวมา เว้นแต่จะเป็นเจ้าพนักงาน ข้าราชการ หรือประชาชนที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานรักษาความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ